ศูนย์ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอบ้านไร่
บริหารงานโดย กลุ่มส่งเสริมอาชีพผ้าทอบ้านไร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทร.0-3231-8708
ประวัติผ้าทอบ้านไร่
ก่อนปีพุทธศักราช 2347 คนไทยเชื้อสายไท-ยวน คนเมืองที่เคยมีความรุ่งเรืองในสมัยที่มีชื่อ โยนกเชียงแสนนคร มีบ้านเรือนอยู่ในเมืองเชียงแสน ปัจจุบันคือ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ต่อมาในปี พ.ศ.2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ ให้ กองทัพเมืองหลวง น่าน ลำปาง เชียงใหม่ และเวียงจันทร์ ขับไล่พม่าออกไปจากเมืองเชียงแสน และทำลายเมืองเชียงแสนทิ้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายชาวเชียงแสนทั้งหมด โดยแบ่งให้กองทัพทั้งห้า นำไปไว้ ณ เมืองดังกล่าว ในส่วนที่ติดตามทัพหลวงลงมากรุงเทพฯ ขณะที่ผ่านลุ่มน้ำป่าสัก (บริเวณ อ.เสาไห้) จ.สระบุรี พี่น้องไท-ยวน ส่วนหนึ่งขอตั้งบ้านเรือนทำกินอยู่ ณ ที่นั้น ส่วนที่เหลือได้เดินทางมาพำนักชั่วคราวที่กรุงเทพฯ ในปัจจุบันระยะหนึ่ง บริเวณบางขุนพรหม จากนั้นได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนย้ายมาตั้งที่เมืองราชบุรีทางทิศตะวันออก เป็นแหล่งแรกในการตั้งบ้านเรือนของชาวเมืองเชียงแสน ชาวโยนกเชียงแสนนคร ได้นำศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรมการทอผ้า ซึ่งเป็นภูมิปัญญามาสู่ท้องถิ่น ซึ่งผ้าทอบ้านไร่นี้ ได้ทำชื่อเสียงไว้ในอดีต ต่อมาได้เลือนหายไปจากสังคมตามสมัยนิยม ลูกหลานชาวบ้านไร่ หันไปใช้ผ้าทอจากโรงงาน จึงทำให้การทอผ้าลดน้อยลง กระทั่งสูญหายไปจากครัวเรือน จนกระทั่งในปี พ.ศ.2545 รัฐบาลได้จัดส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน ด้วยความสำนึกที่ต้องการเชิดชูภูมิปัญญาของบรรพชนให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั่วไป ลูกหลานชาวบ้านไร่ จึงได้ฟื้นฟูศิลปะการทอผ้าบ้านไร่อีกครั้ง โดยประชาคมตำบล และได้รับงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนประจำปีงบประมาณ 2545 จากรัฐบาล พร้อมทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มส่งเสริมอาชีพผ้าทอบ้านไร่ มาจวบจนถึงปัจจุบัน การทอผ้าด้วยมือ
การทอผ้า นำด้ายที่กรอแล้ว(หลากสี) นำมาใส่กระสวย 1 กระสวย ใส่ด้าย 2 หลอดสีสลับกันไป แล้วทำการทอให้ได้ผ้าเป็นผืนผ้าออกมา
ช่างทอผ้า ต้องอาศัยช่างทอผ้าที่มีความชำนาญ และประสบการในการทอผ้า ถ้าช่างทอผ้าไม่ชำนาญและฝีมือไม่ปราณีตในการทอผ้าแล้ว จะทำให้ผ้ามีตำหนิ หรือผ้าที่เป็นผ้าลายก็จะต้องระวังเป็นพิเศษ ตาและละตาต้องเท่าๆ กันไม่เหลื่อมกัน
การพับริม เพื่อไม่ให้เส้นด้ายหลุดออกจากริมผ้าหลัง จากนั้นติดตราเพื่อให้ดูน่าซื้อ และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ราคาผ้าทอมือบ้านไร่ที่จัดจำหน่าย
ก่อนปีพุทธศักราช 2347 คนไทยเชื้อสายไท-ยวน คนเมืองที่เคยมีความรุ่งเรืองในสมัยที่มีชื่อ โยนกเชียงแสนนคร มีบ้านเรือนอยู่ในเมืองเชียงแสน ปัจจุบันคือ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ต่อมาในปี พ.ศ.2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ ให้ กองทัพเมืองหลวง น่าน ลำปาง เชียงใหม่ และเวียงจันทร์ ขับไล่พม่าออกไปจากเมืองเชียงแสน และทำลายเมืองเชียงแสนทิ้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายชาวเชียงแสนทั้งหมด โดยแบ่งให้กองทัพทั้งห้า นำไปไว้ ณ เมืองดังกล่าว ในส่วนที่ติดตามทัพหลวงลงมากรุงเทพฯ ขณะที่ผ่านลุ่มน้ำป่าสัก (บริเวณ อ.เสาไห้) จ.สระบุรี พี่น้องไท-ยวน ส่วนหนึ่งขอตั้งบ้านเรือนทำกินอยู่ ณ ที่นั้น ส่วนที่เหลือได้เดินทางมาพำนักชั่วคราวที่กรุงเทพฯ ในปัจจุบันระยะหนึ่ง บริเวณบางขุนพรหม จากนั้นได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนย้ายมาตั้งที่เมืองราชบุรีทางทิศตะวันออก เป็นแหล่งแรกในการตั้งบ้านเรือนของชาวเมืองเชียงแสน ชาวโยนกเชียงแสนนคร ได้นำศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรมการทอผ้า ซึ่งเป็นภูมิปัญญามาสู่ท้องถิ่น ซึ่งผ้าทอบ้านไร่นี้ ได้ทำชื่อเสียงไว้ในอดีต ต่อมาได้เลือนหายไปจากสังคมตามสมัยนิยม ลูกหลานชาวบ้านไร่ หันไปใช้ผ้าทอจากโรงงาน จึงทำให้การทอผ้าลดน้อยลง กระทั่งสูญหายไปจากครัวเรือน จนกระทั่งในปี พ.ศ.2545 รัฐบาลได้จัดส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน ด้วยความสำนึกที่ต้องการเชิดชูภูมิปัญญาของบรรพชนให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั่วไป ลูกหลานชาวบ้านไร่ จึงได้ฟื้นฟูศิลปะการทอผ้าบ้านไร่อีกครั้ง โดยประชาคมตำบล และได้รับงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนประจำปีงบประมาณ 2545 จากรัฐบาล พร้อมทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มส่งเสริมอาชีพผ้าทอบ้านไร่ มาจวบจนถึงปัจจุบัน การทอผ้าด้วยมือ
การทอผ้า นำด้ายที่กรอแล้ว(หลากสี) นำมาใส่กระสวย 1 กระสวย ใส่ด้าย 2 หลอดสีสลับกันไป แล้วทำการทอให้ได้ผ้าเป็นผืนผ้าออกมา
ช่างทอผ้า ต้องอาศัยช่างทอผ้าที่มีความชำนาญ และประสบการในการทอผ้า ถ้าช่างทอผ้าไม่ชำนาญและฝีมือไม่ปราณีตในการทอผ้าแล้ว จะทำให้ผ้ามีตำหนิ หรือผ้าที่เป็นผ้าลายก็จะต้องระวังเป็นพิเศษ ตาและละตาต้องเท่าๆ กันไม่เหลื่อมกัน
การพับริม เพื่อไม่ให้เส้นด้ายหลุดออกจากริมผ้าหลัง จากนั้นติดตราเพื่อให้ดูน่าซื้อ และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ราคาผ้าทอมือบ้านไร่ที่จัดจำหน่าย
- ผ้าขาวม้า ผืนละ 180 บาท
- ผ้าโสร่ง ผืนละ 300 บาท
- ผ้าพื้น เมตรละ 130 บาท
- ผ้าลายดิ้น เมตรละ 180 บาท
- ผ้าถุงหรือผ้าซิ่น ผืนละ 180 บาท
- ผ้าลาย เมตรละ 180 บาท
ที่มา :
กลุ่มส่งเสริมอาชีพผ้าทอบ้านไร่. (2553). แผ่นพับประชาสัมพันธ์ศูนย์ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอบ้านไร่. แจกจ่ายในงานกาชาดเที่ยวราชบุรี ปี 2553.